วันอังคารที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2552

Five Force Model

โมเดล Five Force ของ Michael Porter เป็น Model ที่นิยมมากในการวิเคราะห์ตลาด

เพื่อให้รู้สภาพแวดล้อมของธุรกิจของเรากับสิ่งรอบข้างที่มีผลต่อการทำธุรกิจของเรา

โดยเป็นการวิเคราะห์ในเชิงบวกท แต่มักมีความเข้าใจกันว่า การวิเคราะห์ธุรกิจโดยนำหลัก Five Force มาใช้นั้น

ควรใช้สำหรับธุรกิจขนาดใหญ่ที่มีการแข่งขันสูงส่วนธุรกิจขนาดเล็กนั้นไม่มีความจำเป็นต้องทำ

แต่ธุุรกิจขนาดกลางและขนาดยก็สามารถใช้ Model ธุรกิจแบบ Five Force มาใช้ได้เพื่อเสริมให้ธุรกิจของ เรานั้นมีความแข็งแกร่งมากยิ่งขึ้นได้เช่นกัน

Five Force:

1. The intensity of competitive rivalry : การแข่งขันกันระหว่างคู่แข่งภายในอุตสาหกรรมเดียวกัน

2. The bargaining power of customers : อำนาจต่อรองของลูกค้า

3. The bargaining power of suppliers : อำนาจต่อรองของ Supplier

4. The threat of substitute products or Services : ภัยคุกคามจากสินค้าทดแทน

5. The threat of the entry of new competitors : ภัยคุกคามจากผู้แข่งขันหน้าใหม่

ความเข้มแข็งของปัจจัยทั้ง 5 ประการ จะเป็นตัวบ่งบอกถึงโอกาสในการได้กำไร

ของธุรกิจภายในอุตสาหกรรมนั้นๆ ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่จะต้องเข้าใจถึงส่วนประกอบย่อยๆ ของแต่ละปัจจัยอย่างละเอียด

เพื่อให้สามารถวิเคราะห์ถึงโอกาสและความเสี่ยงของอุตสาหกรรมนั้นๆ ได้

สิ่งที่ควรคำนึงถึง

ทำยังไงให้ อำนาจต่อรองของ Supplier และของลูกค้า ต่ำลง

- อาจทำได้โดย ผู้ผลิตอาจรวมกลุ่มกันขึ้นมาต่อรองราคากับ Supplier

เช่น สมมติว่า ถ้าเราเป็นเจ้าของร้านคอมในพันทิพย์ เราอาจรวมตัวกัน 100 ร้าน สั่งคอมมาทีเดียว ให้ Supplier ลดราคาให้เป็นพิเศษ

- สำหรับลูกค้า เราอาจรวมตัวกันทุกร้านขายราคาเดียวกันหมด ลูกค้าก็กดราคาเราไม่ได้

ทำยังไงที่จะทำให้ภัยคุกคามไม่เกิด เช่น ตั้งชมรมผู้ขายคอม แล้วบอกเจ้าของตึกว่า ไม่ให้รับร้านค้าเพิ่มแล้ว

ตัวอย่างกรณีสมมติ-การวิเคราะห์ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมตามหลัก Five Force

ตัวอย่างนี้นำเสนอเพื่อวิเคราะห์ Model ทางการตลาดแบบ Five Force เท่านั้น มิได้อ้างอิงเหตุการณ์และสถานที่ที่มีอยู่จริงแต่อย่างใด

ธุรกิจ : ร้านขายของชำร่วยในสวนจตุจักร

ธุรกิจนี้เป็นการเปิดร้านขายของชำร่วยในตลาดนัดสวนจตุจักร ซึ่งของชำร่วยที่ขายอาจเป็นได้ทั้งของขวัญ ของที่ระลึก

หรือของสมนาคุณที่นิยมแจกตามงานต่างๆ เช่น เครื่องเคลือบเซรามิค เครื่องปั้นดินเผา ช้อนส้อม พวงกุญแจ ไฟฉายขนาดพกพา เป็นต้น

โดยจะนำมาวิเคราะห์กลไกทางการตลาดด้วยหลัก Five Force Analysis ของ Michael Port ดังนี้

1.Rivalry Among Current Competitors (การแข่งขันภายในอุตสาหกรรม)

จากการสำรวจในตลาดนัดสวนจตุจักรพบว่าธุรกิจขายของชำร่วยมีผู้ประกอบการอยู่ประมาณ 15 รายโดยจำแนกเป็น 2 กลุ่ม

คือ กลุ่มโซนขายของชำร่วย (10 ราย) และกลุ่มที่กระจายอยู่ทั่วไป (5ราย)

ในกลุ่มโซนที่ขายของชำร่วยด้วยกันเองนั้นก็มิได้ตั้งอยู่ติดกัน การแข่งขันแย่งชิงลูกค้าไม่เข้มข้นเท่ากับกรณีที่ร้านอยู่ติดกัน

เช่น ในย่านพาหุรัด เป็นต้น เนื่องจากไม่มีการเปรียบเทียบสินค้าให้เห็นได้ง่ายเพราะว่าร้านอยู่ห่างกันพอสมควร (ประมาณ 3-4 ห้อง)

และผู้ค้าเองก็สามารถที่จะนำเสนอสินค้าได้ง่ายขึ้น ส่วนในกลุ่มที่อยู่กระจายอยู่ทั่วไปนั้นอาจเรียกได้ว่าไม่มีผลมากนักต่อการแข่งขัน

เนื่องจากสินค้าชนิดนี้เป็นสินค้าเฉพาะกลุ่ม และทางสวนจตุจักรเองก็จัดโซนให้ร้านค้าที่ขายของชำร่วยนี้อยู่เป็นกลุ่มเดียวกัน

ตามปกติแล้วลูกค้าที่ต้องการเข้ามาหาซื้อของมักจะตรงเข้าไปหาแหล่งอยู่แล้ว

ส่วนลูกค้าที่ใช้บริการร้านค้าในกลุ่มนี้มักจะเป็นพวกที่ได้รับคำแนะนำบอกต่อมาอีกที

ซึ่งกลุ่มลูกค้าเป้าหมายเป็นคนละกลุ่มกัน อย่างไรก็ตามก็มิควรตัดร้านค้าที่อยู่นอกกลุ่มออกจากคู่แข่งขัน

เพราะว่าร้านพวกนี้อาจจะคิดกลยุทธ์ใหม่ๆ ในการขายสินค้าเพื่อแข่งขันกับกลุ่มที่อยู่รวมกัน

ดังนั้นผู้ค้าจึงควรพัฒนาสินค้าและบริการของร้านอย่างต่อเนื่อง

เพื่อป้องกันมิให้ข้อได้เปรียบเรื่องฐานลูกค้านี้ถูกแย่งชิงไปโดยคู่แข่งขัน

2.Bargaining Power of Suppliers (อำนาจการต่อรองของ Suppliers)

สินค้าของชำร่วยส่วนใหญ่จะมีแหล่งผลิตมาจากที่เดียวกัน เช่น เครื่องเซรามิคจะมีโรงงานผลิตโดยเฉพาะคือโรงงานย่านดอนเมือง

หรือช้อนส้อมสแตนเลสก็จะมีโรงงานที่ผลิตจากแหล่งเดียวกัน (ย่านลาดกระบัง) เป็นต้น

ดังนั้น Suppliers จะมีอำนาจต่อรองมากกว่าเพราะว่าแหล่งผลิตสินค้าประเภทนี้มีไม่มากนัก

แต่ก็ยังมีวิธีการที่สามารถนำมาใช้เพื่อลดอำนาจการต่อรองของ Suppliers ได้หลายวิธี วิธีการที่จะลด

อำนาจของ Suppliers วิธีหนึ่ง ก็คือ ผู้ค้าขายของชำร่วยจะต้องรวมกลุ่มกันไปต่อรองราคา

ในกรณีที่สวนจตุจักรนี้ผู้ค้าทั้ง 10 รายที่อยู่ในโซนเดียวกัน

ต้องรวมกลุ่มกันสั่งซื้อสินค้าคราวเดียวกันครั้งละมากๆ โดยเข้าไปต่อรองกับ Suppliers ว่าต้องการสั่งซื้อสินค้าจำนวนมาก

และให้ลดราคาขายส่งให้กับกลุ่มสวนจตุจักรนี้ จะทำให้ต้นทุนราคาของลดลง ผู้ค้าก็สามารถทำกำไรได้มากขึ้น

โดยที่ไม่ต้องเพิ่มราคาสินค้าหรือหาโปรโมชั่นอื่นๆ มาเป็นจุดดึงดูดลูกค้า

ประโยชน์ที่จะได้อีกประการหนึ่งก็คือ กลุ่มที่จัดตั้งขึ้นอาจจะกลายเป็นลูกค้ารายใหญ่ ลูกค้าชั้นดี ของโรงงาน อำนาจการต่อรองต่างๆ

เช่น การขอลดราคา การขอเครดิต ก็ทำได้ง่ายขึ้น หากรวมกลุ่มได้ใหญ่มากเท่าไรก็เป็นการลดอำนาจการต่อรองของ Suppliers ได้มากเท่านั้น

โอกาสที่จะทำกำไรจากการขายสินค้าโดยที่มิต้องไปเพิ่มโปรโมชั่นหรือค่าใช้จ่ายอื่นๆ ก็เกิดขึ้นได้ง่าย

3.Bargaining Power of Customer (อำนาจการต่อรองของลูกค้า)

การรวมกลุ่มกันของผู้ขายของชำร่วยไม่เพียงแต่จะได้ประโยชน์จากการซื้อสินค้าได้ถูก (ในกรณีข้อ 2) แล้ว

ยังทำให้อำนาจการต่อรองของลูกค้าลดลงอีกด้วย วิธีนี้ใช้การกำหนดราคากลางของสินค้าขึ้นมาภายในกลุ่มเป็นราคาเหมือนกันหมด

ซึ่งสามารถทำได้ง่ายมากเนื่องจากว่าสินค้ามีแหล่งผลิตและต้นทุนเดียวกัน

ลูกค้าจะไม่สามารถต่อรองผู้ค้าได้เพราะราคาแต่ละร้านเท่ากันหมด หากไม่พอใจในราคาสินค้าก็จำเป็นต้องซื้อเพราะว่าร้านอื่นก็ขายราคาเท่ากัน

ส่วนการทำกำไรด้านอื่นๆ นั้นเป็นเรื่องของเทคนิคแต่ละร้านว่าจะทำได้จากทางไหนบ้าง โดยไม่กระทบต่อราคากลางที่ตกลงกันไว้

ตัวอย่างเช่น ถ้วยเซรามิค ซึ่งกำหนดราคากลางไว้ที่ 10 บาทต่อ 1 ถ้วย ร้านหนึ่งอาจจะทำ Package ให้สวย

โดยการนำไปห่อด้วยพลาสติกสีสวยสดใส แล้วพิมพ์รายละเอียดตามที่ลูกค้าต้องการลงไป ซึ่งอาจเพิ่มราคาเป็น 12-15 บาทได้ แล้วแต่กรณี

4.Threat of Substitute Products or Services (ภัยคุกคามจากสินค้าทดแทน)

สินค้าประเภทของชำร่วยนี้เป็นสินค้าที่มีจุดประสงค์เพื่อนำไปเป็นที่ระลึกในวาระต่างๆ

เช่น งานแต่งงาน งานศพ งานวันเกิด งานเปิดตัวสินค้าหรือร้านค้า เป็นต้น

โดยของที่ระลึกที่จะนำมาขายนี้จะต้องเป็นของที่ทำเองได้ยาก เพื่อเป็นการลดอำนาจจากสินค้าทดแทน

เพราะว่าหากลูกค้าสามารถทำเองได้แล้วก็คงไม่มาซื้อสินค้าจากร้านค้าไปใช้

สินค้าที่จะนำมาเป็นของชำร่วยนั้นมีหลายชนิดและความหมายกว้างมาก

อาจกล่าวได้ว่าทุกสิ่งสามารถนำมาใช้เป็นของชำร่วยได้ทั้งนั้น แต่ที่นิยมนำมาใช้กันมาก เช่น การ์ด ช้อนส้อม พวงกุญแจ นั้น

จะเห็นได้ว่าเป็นสินค้าที่ลูกค้าไม่สามารถผลิตได้เอง จะต้องไปสั่งทำจากโรงงานซึ่งก็มีค่าใช้จ่ายที่สูง เพราะต้องสั่งทีละจำนวนมากๆ

อีกทั้งความสัมพันธ์ระหว่างโรงงานกับบุคคลทั่วไปก็ไม่เท่ากับความสัมพันธ์ระหว่างโรงงานกับผู้ค้าโดยตรง

ดังนั้น ลูกค้าจึงไม่ค่อยนิยมที่จะผลิตหรือไปซื้อเองตามแหล่งผลิต

ภัยที่เกิดจากสินค้าทดแทนไม่ค่อยเห็นเด่นชัดนักในเวลานี้ เพราะว่าคนทั่วไปก็ยังนิยมให้ของที่ระลึก

หรือให้ของชำร่วยกันในโอกาสต่างๆ

เพื่อเป็นการแสดงน้ำใจที่ดีต่อกัน สิ่งที่ผู้ค้าควรกระทำก็คือพยายามหาสินค้าที่ใหม่ๆ ดูแล้วดี

เพื่อแสดงถึงเจตนาของผู้ให้ของที่ระลึกว่าให้เพื่อเป็นการตอบแทนกัน

5.Threat of New Entrants (ภัยคุกคามจากผู้แข่งขันหน้าใหม่)

ธุรกิจขายของชำร่วยเป็นธุรกิจที่สามารถทำเงินได้ไม่ยากนัก เนื่องจากว่าคนไทยนิยมให้ของที่ระลึกกันในงานเทศกาลหรือโอกาสต่างๆ

ดังนั้นธุรกิจนี้จึงมีความน่าสนใจในด้านการลงทุน และอาจเป็นการยากที่จะกันผู้ค้ารายใหม่ที่เข้ามาลงทุน

วิธีการป้องกันภัยคุกคามจากผู้แข่งขันหน้าใหม่ สำหรับร้านขายของชำร่วยในสวนจตุจักรที่มีอยู่ประมาณ 10 ร้านนั้น (เฉพาะในแหล่งกลุ่มเดียวกัน)

จะต้องรวมตัวกันเป็นกลุ่มเพื่อสร้าง Brand ขึ้นมา ตัวอย่างเช่น กลุ่มของชำร่วยจตุจักรซอย 19 หรือ กลุ่มของชำร่วยจตุจักร

เพื่อให้ลูกค้าได้รู้จักและติดกับ Brand นั้น อาจจะทำ Brochure แสดงสินค้าแจกตามหน้าตลาดหรือตามป้ายรถเมล์

เพื่อบอกให้รู้ว่าร้านขายของชำร่วยที่ตลาดนัดสวนจตุจักรนี้มีอยู่ที่เดียว คือ ซอย 19 นอกเหนือจากนี้ก็เป็นร้านที่ไม่ใช่กลุ่ม

โดยปกติลูกค้าต้องการดูและเปรียบเทียบสินค้าที่มีจำนวนมาก เพื่อเลือกสรรสิ่งที่ดีที่สุด

เมื่อรวมตัวกันได้แล้วก็จะทำให้ลูกค้าติด และเป็นที่รู้จักกันทั่วไป

ผู้ค้าหน้าใหม่ที่ต้องการเข้ามาทำธุรกิจก็ต้องเข้ามาร่วมกลุ่มด้วย หากว่าตั้งอยู่โดดเดี่ยวหรือไม่ใช่กลุ่มแล้ว โอกาสที่จะขายสินค้าได้นั้นจะมีน้อยกว่า

เพราะว่า Brand ที่กลุ่มได้สร้างขึ้นมานั้นแข็งพอที่จะดึงลูกค้าให้เข้ามาอุดหนุนได้

อีกวิธีการหนึ่งก็คือ การแตก Brand คือการที่เจ้าของร้านต้องขยายร้านเอง

โดยการตั้งร้านใหม่ ชื่อใหม่ แต่เป็นเจ้าของเดิม และจัดเป็นกลุ่มขึ้น เพื่อเป็นการสกัดกั้นมิให้ผู้ค้ารายอื่นเข้ามาเปิดกิจการแข่ง

เพราะว่ามีร้านขายอยู่เยอะแล้ว จะเป็นการแย่งลูกค้าและลดรายได้กันเอง

ที่มา



วันจันทร์ที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2552

Class on 7th Aug. 2009

วันนี้ อาจารย์สอนบทที่ 7 เรื่องกลยุทธ์การบริหารธุรกิจระหว่างประเทศ

ซึ่งเป็นอีกวัน ที่ผมเข้าสาย - -" ขอโทดคร๊าบ อาจารย์ ^^

ไว้ผมจะหาข้อมูลให้แน่นเลย ทดแทนกับการที่ผมเข้าสาย เหอๆ

เริ่มต้นจากที่ผมจับใจความได้ คือเรื่องกระบวนการวางแผนกลยุทธ์

และเรื่องที่บริษัทต้องมีวิสัยทัศน์ คือการมองความเป็นไปได้ในอนาคต

เช่นมหาวิทยาลัยกรุงเทพ มีวิสัยทัศน์ว่า Creaive University

คือการเป็นมหาวิทยาลัยที่มีความสร้างสรรค์

ทั้งนักศึกษาและคณาจารย์ต่างมีความคิดสร้างสรรค์

เพื่อพัฒนามหาวิทยาลัยให้เป็นผู้นำในสถาบันการศึกษาในระดับประเทศและระดับโลก

รวมทั้งพัฒนาประเทศให้มีความสามารถที่จะแข่งขันกับนานาประเทศได้

การวิเคราะห์กลยุทธ์ในระดับนานาชาติก็เป็นอีกอย่างหนึ่งที่สำคัญของธุรกิจระหว่างประเทศ

โดยที่สำคัญอย่างยิ่ง คือการวิเคราะห์สถานการภายนอก

โดยผมจำทำการหาข้อมูลเพื่อเป็นประโยชน์ในโอกาสต่อไป

และอีกอย่างที่ผมสามารถจำได้ เนื่องจากผมให้ความสนใจอยjางมาก

คือเรื่องกลยุทธ์iระดับบริธัท เรื่องกลยุทธ์การขยายตัว โดยเท่าที่ผมจำได้ คือการรวมกิจการ

เช่นบริษัท SONY ที่รวมกิจการประเภทโรศัพท์มือถือกับ ERICSSON เป็น SONY ERICSSON

การที่กิจการเข้าซื้อกิจการอื่นด้วเหตุผลต่างๆ

เช่น การซื้กิจการประเภทเดียวกันของบริษัทปตท.ที่ซื้อกิจการสถานีบริการน้ำมัน JET

การซื้อกิจการที่เกี่ยวข้อง เช่น การที่บริษัทรถยนต์ ซื้อบริษัทที่ผลิตางรถยนต์ เป็นต้น

การซื้อกิจการที่ไม่เกี่ยวข้อง เ่ช่นการซื้อบริษัท UBC ของบริษัท TRUE แล้วเปลี่ยนเป็น True Vision

การซชื้อกิจการที่มีความสัมพันธ์กับกระบวนการทางธุรกิจของกิจการ

เช่น บริษัทขายเพชร เข้าไปซื้อเหมืองแร่เพชร เพื่อให้ืำการผลิตเพื่อบริษัทตนเองเท่านั้น

ปล.วันนั้นผมได้รู้อะไรหลายๆอย่างที่เป็นประสบการณ์ชีวิตเยอะมาก

อย่างเช่น การที่มีการศึกษาว่า คำว่า "ตับไตไส้พุง"

ที่นำมาเป็นรักแท้...ยังไง ของน้ำชานั้น

เป็นการจงใจนำเข้ามาไว้ในเพลงเพื่อการจดจำได้ง่ายหรือไม่

และเรื่อง Liquidation หรือของเหลวทางการเงินนั้น หมายถึง สภาพคล่อง

หรือจะพูดง่ายๆ เลย ก็คือเงินสด หรือตัวเลขในบัญชีธนาคารนั่นเอง

รวมทั้ง คำศัทพ์ใหม่ ที่ไม่สามารเอ่ยได้ ณ ที่นี้ อิอิ

ที่มา

อ.เฟรส 55555

วันเสาร์ที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

The Last Class Before Midterm

วันนี้เป็นวันเรียนคาบสุดท้ายก่อนสอบกลางภาค

ซึ่งเป็นวันที่ผมไม่ได้เข้าเรียน - -"

เนื่องจากมาแข่งฟันดาบรายการเยาวชนชิงแชมป์เอเีซีย

ที่ประเทศสิงคโปร์ เฮ้อ~ เสียดาย

อดเรียนกับอาจารย์เลย (อดฟังแนวข้อสอบด้วย รึเปล่า? 55)

แต่ไม่เป็นไรครับ มาเพื่อประเทศชาติ

วันนี้ก็แข่งไปแล้ว ได้ที่ 43 จากทั้งหมด 50 กว่าคน เน่ามาก เหอๆ

เอาล่ะ จากที่ผมได้ดูบล็อคของเพื่อนๆมา

เพื่อนๆได้เรียนเรื่องทฤษฎีความได้เปรียบสมบูรณ์

และเรื่องทฤษฏีการได้เปรียบโดยเปรียบโดยเปรียบเทียบ

ซึ่งผมก็ไม่ได้เรียนรอก แต่จะหาข้อมูลเพื่อใช้ในการสอบ

และเพื่อประโยชน์ของตัวผมเอง ^^

เนื่องจากผมไม่ค่อยทราบว่าเรียนเรื่องอะไรบ้าง

จึงขอหาข้อมูลเพียง 2 เรื่องนี้แล้วกันนะครับ



ทฤษฎีการได้เปรียบโดยสมบูรณ์ (Absolute Advantage)

โดย Adam Smith ได้เขียนไว้ในหนังสือ The Wealth of Nations ในปี 1976

โดยเป็นทฤษฎีที่สนับสนุนนโยบายการค้าเสรี เมื่อเป็นการค้าแบบเสรีแล้ว

แต่ละประเทศจะผลิตสินค้าเฉพาะที่ประเทศตนเองมีความได้เปรียบโดยสมบูรณ์

การค้าระหว่างประเทศจึงเริ่มขึ้นจากการที่แต่ละประเทศ

นำสินค้าที่ตนเองได้เปรียบโดยสมบูรณ์มาแลกเปลี่ยนกัน

เช่น ประเทศไทยกับประเทศสหรัฐอเมริกา

ซึ่งประเทศไทยมีความชำนาญและสามารถผลิตข้าวได้ในปริมาณที่มาก

ทางด้านกลับกัน ประเทศอเมริกามีความชำนาญและผลิตคอมพิวเตอร์ได้มาก

เพราะฉะนั้น ถ้าไทยมุ่งผลิตข้าวและอเมริกามุ่งผลิตคอมพิวเตอร์

ผลรวมของสินค้าที่ตนเองได้เปรียบจะเพิ่มขึ้น

และต่างก็ได้รับส่วนแบ่งจากปริมาณผลผลิตที่มากขึ้นจากการค้าระหว่างประเทศ



ทฤษฎีความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบ (Theory of Comparative Advantage)

เดวิด ริคาร์โด (David Ricardo) นักเศรษฐศาสตร์ชาวอังกฤษ ได้คิดค้นไว้เมื่อปีี ค.ศ.1817

โดยกล่าวไว้ว่า "ประเทศควรเลือกที่จะผลิตและส่งออกสินค้าที่ตนเองได้เปรียบโดยเปรียบเทียบมากที่สุด"


จากตารางจะเห็นได้ว่า เยอรมันมีความสามารถในการผลิตสินค้าทั้ง 2 ชนิด ดีกว่าไทย

แต่จะมีวิธีคิดคือ ดูที่เยอรมัน แรงงานเยอรมันมีประสิทธิภาพในการผลิตเสื้อผ้าดีกว่าไทย 2 เท่า (200*2)

ในขณะที่มีประสิทธิภาพในการผลิตรถยนต์ดีกว่าไทย 5 เท่า (20*5)

ดังนั้นเยอรมันควรจะผลิตรถยนต์ เพราะมีความได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบมากกว่าไทยในการผลิตรถยนต์

ส่วนไทยนั้นก็ควรที่จะผลิตเสื้อผ้า เพราะเป็นสินค้าที่ไทยจะเสียเปรียบเชิงเปรียบเทียบน้อยที่สุด

หลังจากนั้นเยอรมันก็นำรถยนต์ส่วนเกินใช้มาขายให้เมืองไทย ส่วนไทยก็นำเสื้อผ้าส่วนเกินนั้นไปขายให้เยอรมัน

ทัโดย้ั้งไทยและเยอรมันจะได้ประโยชน์กันทั้งคู่ สมมุติว่า ก่อนเกิดการสัญญาค้าขาย(Trade)

เยอรมันใช้คนงาน 100 คน ผลิตและบริโภคเสื้อผ้า 200 ชิ้นและรถยนต์ 50 คัน

หลังเกิดสัญญาค้าขาย(Trade) เยอรมันสามารถผลิตรถยนต์ 100 คัน 50 คันไว้ใช้ในประเทศ อีก 50 คันส่งออก

เงินที่ได้จากการส่งออกก็สามารถนำมาซื้อเสื้อผ้าจากไทย จากเดิม 200 ชิ้น เป็น 400 ชิ้นได้

ส่่วนประเทศไทย ใช้คนงาน 200 คน ก่อนเกิด Tradeไทยสามารถผลิต และบริโภคเสื้อผ้า 200 ชิ้น รถยนต์ 20 คัน

หลัง Trade ไทยใช้แรงงานทั้งหมด 200 คน ในการผลิตเสื้อผ้า 400 ชิ้น ถ้าคนไทยบริโภคเสื้อผ้าเพียง 200 ชิ้น

ที่เหลือขายให้เยอรมัน ไทยก็จะได้เงินมาซื้อรถยนต์มาบริโภค จากเดิมเพียง 20 คัน ก็จะได้ถึง 50 คัน


ข้อมูลอ้างอิง



และบล็อคของเพื่อนๆทุกคน ^^

วันอาทิตย์ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

Cancle Class 10 Jul. 2009


ก่อนอื่นเลยนะครับ ผมต้องขอให้อาจารย์ของผมนั้น หายจากไข้หวัดเร็วๆ จะได้กลับมาสอน อยากเรียนกับอาจารย์ อิอิ

จริงๆแล้วผมก็เป็นไข้หวัดครับ แต่ตอนนี้อาการดีขึ้นแล้ว

ด้วยเชื้อไวรัสหวัดนี่เอง ที่ทำให้อาจารย์ไม่สามารถมาสอนได้ในวันที่ 10 กรกฎาคมที่ผ่านมา

แต่ความจริงแล้ว วันนั้นผมมีแข่งกีฬาฟันดาบสากลรายการ 8th Navy Open 2009 ที่แฟชั่นไอร์แลนด์

ซึ่งผมก็คือ ผมเข้ารอบ 16 คนสุดท้าย จากนักกีฬาทั้งสิ้น 80 คน ^^

โดยเหตุผลที่ผมเล่นกีฬา อาจเป็นส่นหนึ่งที่ทำให้ผมหายจากไข้หวัดได้อย่างรวดเร็ว

จึงอยากให้อาจารย์ หรือเพื่อนๆคนไหนที่เป็นไข้หวัด หรือไม่ต้องการที่จะเป็น

ขอให้หมั่นดูแลสุขภาพ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้กับตนเอง

และเนื่องจากช่วงนี้ ไข้หวัดที่กำลังอยู่ในกระแส และกำลังระบาดนักอย่างรวดเร็วก็คือ

"ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009" ซึ่งหลายคนอาจจะยังไม่รู้จักหรือไม่ได้ศึกษาข้อมูลของโรคตัวนี้ดี

ผมจึงอยากจะนำข้อมูลๆเล็กๆน้อยๆ มาเพื่อให้หลายๆคนได้ทราบ จะได้ระมัดระวัง ดูแลรักษาตัว

ให้พ้นจากความเสี่ยงการติดเชื้อ หรือเพื่อปรับเปลี่ยนทัศนคติกับโรคนี้ใหม่

เพราะบางคนนั้น อาจจะมองว่าโรคนี้ก็เป็นโรคหวัดธรรมดา แต่จริงๆแล้ว มันไม่ธรรมดา




ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 นี้ เป็นไข้หวัดที่สายพันธุ์ใหม่ที่เกิดในคน เกิดการแพร่ติดต่อระหว่างคนสู่คน

โดยไม่พบว่ามีการติดต่อจากสุกร โดยโรคนี้ เกิดจากเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ชนิดเอ เอช1 เอ็น1 (A/H1N1)

ซึ่งเป็นเชื้อตัวใหม่ที่ไม่เคยพบทั้งในสุกรและในคนกิดจากการผสมข้ามสายพันธุ์

ซึ่งมีสารพันธุกรรมของเชื้อไข้หวัดใหญ่คน ไข้หวัดใหญ่สุกร และไข้หวัดใหญ่สัตว์ปีกด้วย

โดยในระยกแรก ประเทศไทยใช้ชื่อว่า “โรคไข้หวัดใหญ่ที่ระบาดในเม็กซิโก”

และเมื่อองค์การอนามัยโลกได้ประกาศชื่อเป็นทางการเมื่อวันที่ 30 เมษายนที่ผ่านมา

จึงเปลี่ยนชื่อเป็น “ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ชนิดเอ เอช1เอ็น1” และใช้ชื่อย่อว่า “ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009”

การเกิดโรคระบาดเริ่มต้นเมื่อกลางเดือนมีนาคม 2552 เป็นต้นมา มีผู้ป่วยที่มีผลยืนยัน ทางห้องปฏิบัติการ 257 รายใน 11 ประเทศ

ทั้งเม็กซิโก สหรัฐอเมริกา ออสเตรีย แคนาดา อิสราเอล เนเธอร์แลนด์ สเปนและสหราชอาณาจักร

การแพร่ติดต่อ เกิดขึ้นโดยการไอจามรดกันโดยตรง หรือหายใจเอาฝอยละอองเข้าไป หากอยู่ใกล้ผู้ป่วยใน
ระยะ 1 เมตร

โดยไว้รัสนี้ จะอยู่ในเสมหะ น้ำมูก น้ำลายของผู้ป่วย แต่บางรายได้รับเชื้อทางอ้อมผ่านทางมือหรือสิ่งของเครื่องใช้ที่ปนเปื้อนเชื้อ

เช่นแก้วน้ำ ลูกบิดประตู โทรศัพท์ ผ้าเช็ดมือ เป็นต้น เชื้อจะเข้าสู่ร่างกายทางจมูก ตา ปาก

ผู้ป่วยอาจเริ่มแพร่เชื้อได้ตั้งแต่ 1 วันก่อนป่วย ช่วง 3 วันแรกจะแพร่เชื้อได้มากสุด และระยะแพร่เชื้อมักไม่เกิน 7 วัน

สำหรับอาการที่เกิดขึ้น จะมีอาการใกล้เคียงกับไข้หวัดใหญ่ คือไข้สูง ปวดศีรษะ กล้ามเนื้อ ไอ จาม เจ็บคอ และอาจคลื่นไส้ อาเจียร ท้องเสีย

ผู้ป่วยส่วนใหญ่อาการไม่รุนแรง สามารถหายป่วยโดยไม่ต้องนอนโรงพยาบาล

แต่ผู้ป่วยหลายรายในเม็กซิโกมีอาการปอดอักเสบรุนแรง (หอบ หายใจลำบาก) และเสียชีวิต

สำหรับอารรักษา ผู้ที่มีอาการรุนแรงต้องรีบไปโรงพยาบาลทันที โดยแพทย์จะให้ยาต้านไวรัส ยาโอลเซลทามิเวียร์ (oseltamivir)

ผู้ป่วยที่มีอาการเล็กน้อย สามารถไปพบแพทย์และดูแลรักษาเองที่บ้าน โดยให้ทานยาตามอาการ

ดื่มน้ำสะอาดและน้ำผลไม้ งดดื่มน้ำเย็น ทานอาารที่เป็นประโยชน์ พักผ่อนให้เพียงพอ

สำหรับการป้องกันทำได้โดยการหลีกเลี่ยงการใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อ หรือสวมหน้ากากอนามัย หาต้องดูแลผู้ป่วย

ไม่ใช้แก้วน้ำ หลอด ช้อน ผ้าเข็ดมือเข็ดหน้าร่วมกับผู้อื่น ใช้ช้อนกลางทุกครั้ง ล้างมือบ่อยๆ

ดูแลสุขภาพให้แข็งแรง พักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ งดบุหรี่และสุรา

ในปัจจุบันระดับการระบาดของเชื้อโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ในปัจจุบันอยู่ในระดับ 6 (ระบาดทั่วโลก)

และ 76 ประเทศที่มีผู้ติดเชื้อ จำนวนรวมกว่า 35,928 คน

เม็กซิโกมีผู้ติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ 2009 เป็นอันดับ 2 ของโลกคือ 10,262 ราย เสียชีวิต 119 ราย

ส่วนอันดับ 1 คือ สหรัฐอเมริกา มีผู้ติดเชื้อ 33,902 ราย เสียชีวิต 170 ราย

ขณะนี้ประเทศไทยมีผู้ติดเชื้อประมาณ 3,000 ราย อัตราการตายยังอยู่ที่ 0.4%

แผนที่การระบาดของเชื้อโรค


ข้อมูลอ้างอิง



วันจันทร์ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

Creolization

จากกระแสแห่งโลกาภิวัตน์ที่แพร่กระจายไปทั่วทั้งโลก ก่อให้เกิดยุคที่การสื่อสารไร้พรมแดน

เกิดการหลั่งไหลของวัฒนธรรมจากประเทศหนึ่งไปสู่อีกประเทศหนึ่ง

ในสมัยก่อน ทั่วโลกได้แข่งขันกันด้วยสงครามทางอาวุธ แล้วจึงพัฒนาเป็นการแข่งขันด้วยสงครามเศรษฐกิจ

จนถึงปัจจุบัน โลกได้แข่งขันกันครอบงำประเทศอื่นๆ ด้วยสงครามทางวัฒนธรรม (Cultural War)

หรือกระบวนการที่เรียกว่า “Creolization” มีความหมายว่า การพยายามยัดเยียดวัฒนธรรมของตนให้เป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมของชาตินั้นๆ

ซึ่งกระบวนการเหล่านี้ ประเทศมหาอำนาจหลายประเทศใช้เป็นกลยุทธ์เพื่อส่งออกวัฒนธรรมของตนไปยังชาติอื่นๆ

โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศที่กำลังพัฒนา เพราะประชาชนในประเทศเหล่านี้ชอบที่จะเปิดรับความศิวิไลซ์

ทำให้ถูกครอบงำได้โดยง่ายผ่านตัวสินค้าและบริการ

ประเทศที่เป็นผู้นำด้านนโยบายการส่งออกทางวัฒนธรรมอย่างชัดเจน ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ที่ได้เปลี่ยนวิถีการดำรงชีวิตของคนทั้งโลก

ให้เป็นไปตามตนเอง เพื่อการยอมรับของคนทั้งโลก โดยการส่งสินค้าของตนเองเข้าไปตีตลาดในประเทศต่างๆ

ใช้สื่อต่างๆ ทั้งโทรทัศน์ วิทยุ ภาพยนตร์ ฯลฯ เป็นสื่อในการที่จะค่อยๆกลืนกินขาติอื่นด้วยวัฒนธรรมของตน

การทานอาหารเช้าด้วยกาแฟ ไข่ดาว แฮม ไส้หรอก หรือที่เรียกว่า breakfast หรือการดื่มน้ำอัดลม

การใช้สินค้าเครื่องประดับที่มีราคาแพง อย่างเช่น กระเป๋า เสื้อผ้า รองเท้าที่เป็นแฟชั่นต่างๆ

รถยนต์ หรืออีกมากมาย ซึ่งประเทศสหรัฐอเมริกาประสบความสำเร็จอย่างมากในการใช้แนวทางนี้ในการก้าวขึ้นประเทศมหาอำนาจของโลก

อีกประเทศหนึ่ง ที่ใช้กระบวนการ Creolization ในการแข่งขันก็คือ ประเทศญี่ปุ่น โดยในปัจจุบัน ที่เห็นได้ชัดเลยคือ "เกาหลีใต้"

เกาหลีใช้กลยุทธ์สื่อสารวัฒนธรรมของตัวเองผ่านอุตสาหกรรมบันเทิงหลายแขนง ได้แก่ ละคร เพลง ภาพยนตร์ เกมออนไลน์ วรรณกรรม

การ์ตูน แอนิเมชั่น ฯลฯ เพื่อสร้างภาพลักษณ์ที่ดีต่อประเทศ เพื่อหวังให้สิ่งเหล่านี้สามารถส่งผลพลอยได้ไปยังธุรกิจอื่นๆ

เช่น อุตสาหกรรมท่องเที่ยว อาหารเกาหลี แฟชั่นการแต่งตัว เครื่องสำอางค์ อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า ฯลฯ

การที่เกาหลีสำเร็จได้นั้น เกิดจากการวางแผนกลยุทธ์มาเป้นอย่างดีเพื่อสร้างคุณค่าให้กับ “การส่งออกทางวัฒนธรรมของเกาหลี”


ปัจจัยแห่งความสำเร็จของ "เกาหลีฟีเวอร์" มี 3 ประการ ดังนี้

1.ลักษณะพื้นฐานของประชากรของเกาหลี

คนเกาหลีมีลักษณะเป็นชาตินิยมสูง มีความภูมิใจในวัฒนธรรมของตนเอง

อีกทั้งยังไม่บูชาคนต่างชาติโดยเฉพาะชาติตะวันตก

นอกจากนี้ ระบบการศึกษาของเกาหลียังช่วยสร้างบุคลิกให้เป็นคนขยัน

ทำงานหนัก และมีความทะเยอทะยาน

ชาวเกาหลีคิดว่ามีความเป็นไปได้ที่จะเก่งเหนือคนตะวันตก ทำให้เกาหลีเริ่มพัฒนาตนเองให้ไปสู้กับต่างชาติได้

ภาพลักษณ์แห่งการเป็นชาตินิยมของคนเกาหลี เป็นแรงผลักดันที่ช่วยเสริมให้ภาพลักษณ์โดยรวมของกระแสแห่งเกาหลีเข้มข้นขึ้น

2.การสนับสนุนของรัฐบาล

ซึ่งเป็นแรงผลักดันที่มีความสำคัญอย่างมาก และสำคัญที่สุด เกาหลีมีรัฐบาลที่มีวิสัยทัศน์

คิดกลยุทธ์การสร้างแบรนด์หรือสื่อสารวัฒนธรรมเกาหลีออกสู่ชาวโลก

ด้วยอุบายที่แยบยล ด้วยการที่อาศัยอุตสาหกรรมบันเทิงต่างๆ เป็นสื่อเผยแพร่ เพราะสื่อบันเทิงสามารถเข้าถึงผู้รับสารได้โดยง่าย

ผู้รับสารจะรู้สึกผ่อนคลายและเต็มใจที่จะเปิดรับ สามารถชื่นชอบและพอใจที่จะทำความคุ้นเคย กับเนื้อหาต่างๆของสื่อบันเทิง

จึงได้วางนโยบายระดับชาติ ถึงขนาดจัดตั้งองค์กร KOCCA (Korea Cultural Content Agency) เพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรมบันเทิงเหล่านี้

ในแง่ของการทำตลาดนอกประเทศ อีกทั้ง KOCCA ยังส่งเสริมศิลปะบันเทิงยุคใหม่ๆ โดยมองว่าศิลปวัฒนธรรมใหม่ก็สามารถสร้างคุณค่าได้เช่นกัน

หากได้รับการส่งเสริมที่ดี ดังจะเห็นได้จากการจัดเทศกาลต่างๆ เช่น เทศกาลหนังปูซานฟิล์ม ซึ่งถือว่าเป็นเทศกาลหนังที่ดีที่สุดในเอเชีย

นอกจากนี้ ทางรัฐบาลมีนโยบายที่จะลดหย่อนภาษีบางประการให้กับอุตสาหกรรมภาพยนตร์เพื่อส่งเสริมการผลิต

และจากผลกระทบของ “เกาหลีฟีเวอร์” ทำให้รัฐบาลเห็นโอกาสที่จะตามมามากมาย จึงได้ก่อตั้ง Cultural Industry Academy

เพื่อพัฒนาทักษะและความชำนาญในการส่งออกสินค้าทางวัฒนธรรม

3.ความเอาจริงเอาจังของภาคเอกชน

เมื่อรัฐบาลเสนอการสนับสนุนให้กับภาคเอกชน ภาคเอกชนก็ตั้งใจผลิตผลงานสื่อที่มีคุณภาพ ทั้งในด้านสาระเนื้อหาและเทคนิคการสร้าง

รวมทั้งยังใส่ใจในการวิจัยเพื่อทำความเข้าใจพฤติกรรมผู้บริโภคอย่างแท้จริง



แม้ว่าการส่งออกสินค้าทางวัฒนธรรมจะดูเป็นสิ่งที่จับต้องไม่ได้ แต่กลับสร้างผลกระทบในแง่ดี สามารถต่อยอดไปสู่อุตสาหกรรมอื่นๆได้อย่างลงตัว

และเป้าหมายสูงสุดของเกาหลีในการส่งออกวัฒนธรรมให้สำเร็จ คือเกาหลีไม่ได้ต้องการเพียงแค่

เปลี่ยนแปลงการรับรู้ของผู้คนในประเทศอื่นๆ (Knowledge Change)

หรือเพียงแค่เปลี่ยนทัศนคติให้ประเทศอื่นๆมองเกาหลีในภาพลักษณ์ที่ดีขึ้น (Attitude Change)

แต่ต้องการที่จะเปลี่ยนลึกลงไปถึงวิถีการดำเนินชีวิตของผู้คนในประเทศนั้นๆ (Behavior Change) ให้ใช้ชีวิตเฉกเช่นชาวเกาหลี

อีกนัยหนึ่งคือการบริโภคสินค้าและบริการต่างๆแบบชาวเกาหลีหรือแบรนด์จากประเทศเกาหลีนั่นเอง

ซึ่งอาจจะเป็นความฝันสูงสุดที่เกาหลีคิดอยากจะก้าวเป็นมหาอำนาจ

อย่างเช่นที่สหรัฐอเมริกาได้เคยแผ่ขยาย “Americanization” หรือ การครอบงำทางวัฒนธรรมที่อำนวยผลทางเศรษฐกิจไปทั่วโลกมาแล้ว






ทิ้งท้ายนิดหน่อย

คือว่าผมในฐานะคนหนึ่งที่หลงอยู่ในกระแสเกาหลีฟีเวอร์เหมือนกัน

เพียงแต่ว่า ผมไม่คิดว่า กระแสนี้จะมีความรุนแรงแต่อย่างใด

เพราะผม ก็ยังมีความภูมิใจในชาติไทยอยู่เหมือนกัน

ยังฟังเพลงไทย ชอบละครไทย ศิลปะไทย ฯลฯ

การที่เราจะนิยมกระแสต่างๆ แล้วกลัวที่จะเป็นการกลืนกินชาติจากต่างชาตินั้น

มันอยู่ที่ความเข้มแข็ง ความเป็นปึกแผ่นของคนในชาติ

และเป็นดุลยพินิจของแต่ละบุคคล

การที่จะทำอะไรหรือคลั่งอะไร ควรทำแต่พอดี อย่างน้อย ชาติไทยก็มีดีเหมือนกัน ^^



แหล่งอ้างอิง